Our website uses necessary cookies to enable basic functions and optional cookies to help us to enhance your user experience. Learn more about our cookie policy by clicking "Learn More".
Accept All Only Necessary Cookies
รวมมิตรสัญญา icon

1.0.3 by siamappdev


Mar 17, 2020

About รวมมิตรสัญญา

"Friendly Contracts" was created for the benefit of all users.

นิติกรรม หรือการทำสัญญา นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นหนึ่งก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่กันทั้ง 2 ฝ่าย อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ (ป.พ.พ.ม. 149)

กล่าวโดยย่อ นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นอันได้แก่ การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ มีการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิและระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรมเป็นต้น

“โมฆะ” หมายถึง นิติกรรมนั้นเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย คือเสมือนว่าไม่มีการทำนิติกรรมนั้นๆ เลย จะฟ้องร้องบังคับกันไม่ได้จะให้สัตยาบันก็ไม่ได้ (ม.172)

“โมฆียะ” หมายถึง นิติกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะมีการบอกล้าง (ม.176)

ถ้าไม่มีการบอกล้างภายในระยะเวลา1 ปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือ 10 ปี นับแต่ได้ทำ นิติกรรม ม. 181)หรือมีการให้สัตยาบัน (ม.179) โดยบุคคลที่กฎหมายกำหนด นิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์ตลอดไป

สัญญา

สาระสำคัญของสัญญา

1. ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป

2. ต้องมีการแสดงเจตนาต้องตรงกัน (คำเสนอ+คำสนองตรงกัน)

“คำเสนอ” เป็นคำแสดงเจตนาขอทำสัญญา คำเสนอต้องมีความชัดเจน แน่นอน ถ้าไม่มีความชัดเจน แน่นอน เป็นแต่เพียงคำเชิญชวน

“คำสนอง” คือ การแสดงเจตนาของผู้สนองต่อผู้เสนอ ตกลงรับทำสัญญาตามคำเสนอ คำสนองต้องมีความชัดเจน แน่นอน ปราศจากข้อแก้ไข ข้อจำกัดหรือข้อเพิ่มเติมใดๆ

3. ต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำสัญญา

ประเภทของสัญญา

1. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน

“สัญญาต่างตอบแทน” ได้แก่

สัญญาที่ทำให้คู่สัญญาต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน(ม. 369) กล่าวคือ คู่สัญญาต่างมีหนี้หรือหน้าที่จะต้องชำระให้แก่กันเป็นการตอบแทน

“สัญญาไม่ต่างตอบแทน” คือ สัญญาที่ก่อหนี้ฝ่ายเดียว เช่น สัญญายืม(ม.640, 650)

2. สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน

3.สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์

“สัญญาประธาน” หมายถึง สัญญาที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ได้โดยลำพัง ไม่ขึ้นอยู่กับสัญญาอื่น

“สัญญาอุปกรณ์” นอกจากสัญญาอุปกรณ์จะต้องสมบูรณ์ตามหลักความสมบูรณ์ของตัวเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของสัญญาประธานอีกด้วยกล่าวคือ ถ้าสัญญาประธาน ไม่สมบูรณ์ สัญญาอุปกรณ์ย่อมไม่สมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เช่น สัญญาค้ำประกัน (ม.680) / สัญญาจำนอง (ม.702) / สัญญาจำนำ (ม.747)

4. สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก

โดยคู่สัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกโดยที่บุคคลภายนอกนั้นไม่ได้เข้ามาเป็นคู่สัญญาด้วย เช่น สัญญาประกันชีวิต

5. เอกเทศสัญญาตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 กับสัญญาไม่มีชื่อ

สิทธิในการบอกเลิกสัญญา

1. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

1.1 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ถ้าฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายใน ระยะที่กำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ (ม.387)

1.2 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณเวลาที่กำหนด หรือภายในระยะเวลาซึ่งกำหนดไว้เจ้าหนี้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ก่อน(ม.388)

1.3 เมื่อการชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้ได้ เจ้าหนี้จะเลิกสัญญาเสียก็ได้ (ม.389)

2. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หมายความว่าคู่สัญญาได้ตกลงกันกำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ล่วงหน้าถ้ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ก็ให้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่คู่กรณี

ผลของการเลิกสัญญา

1. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม (ม.391วรรคหนึ่ง) เช่น

- ทรัพย์สินที่ได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่กันไปตามสัญญา ก็ต้องคืนทรัพย์สินนั้นในสภาพที่เป็นอยู่เดิมขณะมีการส่งมอบหรือโอนไปตามสัญญา

และถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืนได้ทั้ง หมดหรือบางส่วนก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแทน

- หากทรัพย์สินที่จำต้องส่งคืนนั้นเป็นเงินตรา กฎหมายกำหนดให้บวกดอกเบี้ย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไปด้วย (ม.391 วรรคสอง)อัตราดอกเบี้ยนั้น ถ้ามิได้กำหนดเอาไว้ ให้ ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี(ม.7)

- อย่างไรก็ตาม การเลิกสัญญาอันมีผลทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมนี้จะเป็นสาเหตุทำให้บุคคลภายนอกเสื่อมเสียสิทธิไม่ได้

2. การเลิกสัญญาไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกค่าเสียหาย

ทั้งหมดนี้ ทางเจ้าหน้าที่และทีมงานผู้พัฒนาเล็งเห็นความสำคัญของการติดต่อดำเนินการสัญญาจึงได้จัดทำแอพลิเคชั่น "รวมมิตรสัญญา"

What's New in the Latest Version 1.0.3

Last updated on Mar 17, 2020

รวมมิตรสัญญา

Translation Loading...

Additional APP Information

Latest Version

Request รวมมิตรสัญญา Update 1.0.3

Uploaded by

Anmar Sabah

Requires Android

Android 4.4+

Show More

รวมมิตรสัญญา Screenshots

Comment Loading...
Languages
Subscribe to APKPure
Be the first to get access to the early release, news, and guides of the best Android games and apps.
No thanks
Sign Up
Subscribed Successfully!
You're now subscribed to APKPure.
Subscribe to APKPure
Be the first to get access to the early release, news, and guides of the best Android games and apps.
No thanks
Sign Up
Success!
You're now subscribed to our newsletter.